วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

** ข้อความ **

1. ท้อแท้กับปัญหามากมายทำอย่างไรดี?
ปลาที่ยังเป็นอยู่ ล้วนเรียนรู้ที่จะว่ายทวนน้ำ
ส่วนปลาตาย มักไหลตามน้ำ
ปัญหาทำให้คนธรรมดาท้อ แต่ทำให้คนมีปัญญาลุกขึ้นมาแก้ไข
2. โกรธ! ถูกเพื่อนนินทา?
โบราณว่าไม่มีใครเตะหมาที่ตายแล้ว
คุณถูกนินทาแสดงว่าคุณยังมีความหมาย
คุณเป็นคนโชคดี จู่ๆ ก็มีกระจกวิเศษสะท้อนความอัปลักษณ์
ให้เห็นความบกพร่องของตัวเอง
3 ถูกนายด่า อารมณ์เสีย?
คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างในกำลังพัง
คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า
แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย
4 สวดมนต์บทไหนดี?
(๑) สวดพุทธคุณเพื่อเตือนว่า จงเป็นผู้ตื่น
(๒) สวดธรรมคุณเพื่อเตือนว่า จงเว้นสิ่งที่ควรเว้น จงทำสิ่งที่ควรทำ
(๓) สวดสังฆคุณ เพื่อเตือนว่า พระอรหันต์ที่แท้
คือพ่อกับแม่ที่อยู่ในบ้านของเรานั่นเอง

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

*** ข้อสังเกต 15 จุดอันตราย ***

1. การแบ่งซื้อ/แบ่งจ้าง
-พัสดุประเภทเดียวกัน
- มีความต้องการใช้ในระยะเวลาเดียวกัน
- ควรจัดหาในคราวเดียวกัน
- เจตนา
การแบ่งซื้อ/แบ่งจ้าง โดยลดวงเงิน หรือใช้วิธีการจัดซื้อ/จัดจ้างเปลี่ยนไปเป็นวิธีสำหรับวงเงินที่ต่ำกว่า หรือทำให้อำนาจการสั่งซื้อ/สั่งจ้างเปลี่ยนไป อันเป็นประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจ/ผู้เกี่ยวข้อง
2. การแต่งตั้งคณะกรรมการ
ตามระเบียบฯ ข้อ 35 คณะกรรมการตาม ข้อ 34 แต่ละคณะให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และ กรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณี จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการ ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
3. วงเงินเท่าไหร่ ควรแต่งตั้งกรรมการกี่คน
ตามระเบียบฯ ข้อ 35 วรรคห้า สำหรับการซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000.-บาทจะแต่งตั้ง ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้
4. การจัดซื้อ/จัดจ้าง กรณีพิเศษ
การซื้อ/การจ้างจากส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณี ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง
2. มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึงหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย
5. การจำแนกประเภทไม่ถูกต้อง
วัสดุ โดยสภาพมีลักษณะสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม หรือคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วย หรือต่อชุด ไม่เกิน 5,000.-บาท
ครุภัณฑ์ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปีและมีราคาเกิน 5,000.-บาทต่อหน่วย หรือต่อชุด
6. การปิดอากรแสตมป์
การปิดอากรแสตมป์สัญญาจ้าง/ใบสั่งจ้าง ซึ่งต้องคำนวณจากจำนวนค่าจ้าง(ไม่รวมภาษี มูลค่าเพิ่ม) ในอัตรา 1,000.- ละ 1 บาท เศษไม่ถึง 1,000.- ให้คิดเป็น 1 บาท
กรณีค่าจ้าง ตั้งแต่ 200,000.-บาท ขึ้นไป ให้นำสัญญาไปสลักหลังตราสารเพื่อชำระค่าอากร
(แทนการปิดอากรแสตมป์)ที่สำนักงานสรรพากรก่อนทำสัญญา หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจาก
วันทำสัญญา
7. การจัดซื้อ/จัดจ้าง ตามนัยข้อ 39 วรรค 2
- ไม่ใช่เป็นกรณีเร่งด่วนทุกเรื่อง
การซื้อ/การจ้างโดยวิธีการตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทันให้เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการนั้น ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อ หัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม
8. ระยะเวลาการตรวจรับ
กรณีเป็นการตรวจรับพัสดุที่จ้างทำซึ่งไม่ใช่งานจ้างก่อสร้าง ตามระเบียบ ฯ กำหนดให้ตรวจรับในวันที่ผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด อย่างช้าต้องไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ ผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งมอบ ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวไม่รวมถึงระยะเวลาในการทดลอง หรือตรวจสอบทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์
กรณีเป็นงานจ้างก่อสร้าง คณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องเร่งรัดดำเนินการตรวจการจ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด และในแต่ละงวด(ยกเว้นงวดสุดท้าย) จะต้องไม่เกิน 3 วันทำการ และงวดสุดท้าย ไม่เกิน 5 วันทำการ การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้างให้เริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้ดำเนินการแล้วเสร็จและรายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดได้ ให้รายงานหัวหน้าสถานศึกษาพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็นพร้อมกับสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วย
9. การส่งมอบพัสดุ/งานจ้าง เกินกำหนดสัญญา
เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการรีบแจ้งการเรียกค่าปรับ ตามสัญญา หรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการบอกสงวนสิทธิ์ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
10. การจัดทำราคากลาง
งานก่อสร้าง
จากข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทางโรงเรียนไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางในส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ได้ราคากลางเป็นราคาที่เป็นปัจจุบัน ทันเหตุการณ์และเป็นราคาในท้องถิ่น แต่ละแห่ง
ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง และค่าภาษี ซึ่งแต่ละรายการจะมีข้อมูลที่จะนำมาใช้ ในการคำนวณราคากลางดังนี้
- ต้นทุน ได้แก่ ค่าวัสดุ และค่าแรงงาน
ส่วนกลาง ใช้ราคากรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ส่วนภูมิภาค ใช้ราคาสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
11. การตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง
การประเมินงานก่อสร้าง โดยเปรียบเทียบบัญชีรายละเอียดงานก่อสร้าง กับราคากลาง
12. การจัดซื้อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
กระทรวงการคลัง ได้กำหนดบัญชีราคากลางกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ใหม่ ซึ่งเป็นราคา
ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน รายละเอียดตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0408.2 / ว. 59 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2548
13. การตรวจสอบพัสดุประจำปี
- ไม่ได้จัดทำ
- ทำช้า เกินกำหนด
- ตรวจสอบไม่ละเอียด
- จำหน่ายไม่ถูกต้อง
การตรวจสอบพัสดุประจำปี ให้ถือปฏิบัติตาม
1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ155 ,156
สรุป ก่อนสิ้นเดือน ก.ย.ทุกปี ให้ ผอ.สพท. ผอ.โรงเรียน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ พัสดุคนหนึ่งหรือหลายตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุ งวด 1 ต.ค.ปีก่อน จนถึง 30 ก.ย.
ปีปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการตรวจสอบ ในวันเปิดทำการวันแรกของเดือน ต.ค. เป็นต้นไป แลรายงานผล ภายใน 30 วันทำการ เมื่อมีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นใช้ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องจากการใช้งาน หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่าย และถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่า จะต้องหาตัว ผู้รับผิดด้วย ให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
2. คำสั่งมอบอำนาจปฏิบัติราชการของ สพฐ. ที่ 22/2546 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับพัสดุ
สรุป เลขา สพฐ.มอบอำนาจเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการ อื่น ๆ ที่กำหนดในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุของ เขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษา แล้วแต่กรณี ให้ ผอ.สพท.และผอ.สถานศึกษา ปฏิบัติราชการแทน เลขา สพฐ. เต็มวงเงินที่เป็นอำนาจ
14.การเปลี่ยนแปลงรายการ
- ไม่เป็นไปตามสัญญา
ตามระเบียบฯ ข้อ 136 สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
มิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี
15.การงดหรือลดค่าปรับ การขยายเวลาทำการตามสัญญา
- ขยายเวลา โดยไม่อิงระเบียบพัสดุ
- ไม่มีหลักฐาน
ตามระเบียบฯ ข้อ 139 การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตาม
สัญญา หรือข้อตกลงให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) เหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของส่วนราชการ
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

***ธรรมะของหลวงปู่ทวด***

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด
ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข
ละได้ย่อมสงบ
สันดาน
ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้
แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก
ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐ
ก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า
ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์
แห่งกายเนื้อเมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ
ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการ
แสวงหาปัจจัย
บรรเทาทุกข์
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิต
ไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์
ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
ยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย
ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น
ยึดจึงเดือดร้อน
ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่
ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึง
ธรรมสากลจักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก
สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์
ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ
ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าสิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ
นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ
อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ
เหนือรัก เหนือชัง
ธรรมารมณ์
การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง
อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น
เป็นสิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงาน
เพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆ แล้วถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น
เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์
กรรม
ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า
เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว
ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง
มารยาทของผู้เป็นใหญ่
ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่
ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทา
และสรรเสริญ
โลกิยะ หรือ โลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
คนที่เดินทางโลกิยะ ย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?
ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ?
ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ?
แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน
เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง
ศิษย์แท้
พิจารณากายในกาย พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ
นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
รู้ซึ้ง
ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา
ใจสำคัญ
การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์
จะต้องทำด้วยความศรัทธา
ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย
หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน
และถ้าภาวะนั้น ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ หยุดพิจารณา
แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้
บริจาค
ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก
การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล
มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม
ทำด้วยใจสงบ
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ
อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น
มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด
เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก
มีสติพร้อม
จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม
คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ
อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล มาอยู่เหนือความจริง
เตือนมนุษย์
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีง านทำในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า
พิจารณาตัวเอง
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่า ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่อง
ของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด
ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง

คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวด
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

***ทุกสิ่งอยู่ที่เราเลือกเอง ***

อย่าไปให้ความสำคัญกับใคร หากคุณเป็นแค่ทางเลือกของเขา
สัมพันธภาพจะดีที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกันอย่างสมดุล

ไม่ต้องสาธยายเกี่ยวกับตัวคุณให้ใครฟังหรอก
เพราะคนที่ชอบคุณ ยังไงเขาก็ชอบ และไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้ยิน
แต่คนที่เกลียดคุณ ยังไงเขาก็ไม่มีทางเชื่อคุณหรอก

เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณยุ่ง คุณก็จะไม่ว่างเลย
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณไม่มีเวลา คุณก็จะไม่มีเวลาเลย
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณจะทำในวันพรุ่งนี้ วันพรุ่งนี้จะไม่มีวันมาถึงเลย

เมื่อเราตื่นขึ้นมาในยามเช้า เรามีทางเลือกง่ายๆ 2 อย่าง
กลับไปนอนและฝันต่อ หรือ ลุกขึ้นมาแล้วทำความฝันให้เป็นจริง
การตัดสินใจอยู่ที่ตัวคุณ

เรามักทำให้คนที่ใส่ใจเราต้องร้องไห้
เรามักร้องไห้ให้กับคนที่ไม่เคยใส่ใจเรา
และเรามักใส่ใจกับคนที่ไม่มีวันร้องไห้ให้เรา
นี่คือความจริงของชีวิต แปลกแต่จริง
ถ้าคุณตระหนักถึงความจริงอันนี้ มันก็ยังไม่สายที่จะเริ่มการเปลี่ยนแปลง

อย่ารับปากใคร เมื่อคุณกำลังสนุกสนาน
อย่าได้ตอบกลับ เมื่อคุณกำลังเศร้า
อย่าไปตัดสินใจอะไร เมื่อคุณกำลังโกรธ
ทบทวนความคิดอีกที และลงมือทำอย่างสุขุม

เวลาก็เหมือนสายน้ำ
คุณไม่มีทางสัมผัสน้ำเดียวกันได้สองครั้งหรอก
เพราะมันได้ไหลผ่านไปแล้ว
มีความสุขกับทุกช่วงชีวิตของเราดีกว่า ...